24 มิถุนายน 2559

ฟังดร.เล่า: น้ำท่วมเมืองไทย 6 - หรือนี่เป็นจุดกำเนิดของคำว่า "น้ำรอการระบาย"

สวัสดีครับ วันนี้มีเรื่องจากดร.มาเล่าฟังอีกแล้ว ช่วงนี้ก็เข้าหน้าฝนของปีอีกแล้ว พอฝนตกหนักน้ำก็เลยท่วม พอดีที่ผู้ว่าฯกทมเค้าขอให้ใช้คำว่า "น้ำรอการระบาย" แล้วก็มีหลายๆคนเอาไปเล่นกันสนุกใหญ่เลย

เมื่อวานก็คุยกันเล่นๆกับดร. ก็เลยไปถึงไอ้คำว่า "น้ำรอการระบาย" ของผู้ว่าฯ นี่แหละ อยู่ดีๆดร.ก็พูดขึ้นมาว่า "พ่อนี่แหละ เป็นคนเริ่มคำว่า 'น้ำรอการระบาย' "

ไอ้เราก็ ห้ะ! ใช่หรอป๊า? ทีนี้ดร.ก็เลยเล่าให้ฟัง


คือเมื่อก่อน ตอนที่ดร.เคยรับราชการอยู่ที่กรมทรัพย์ฯ เคยเขียนบทความให้กทม. เกี่ยวกับน้ำท่วมในกรุงเทพเนี่ยแหละ

ดร.ยกตัวอย่าง ถ.วิภาวดี ในสมัยก่อนนั้น ถ.วิภาวดียังไม่ใหญ่เท่านี้ (จำไม่ได้แล้วว่ามีข้างละกี่เลน เดี๋ยวไปถามมาใหม่) แล้วข้างถนนสองข้างก็จะมีคู เอาไว้ระบายน้ำจากถนน คูมันก็กว้าง แบบกว้าง 3-4 เมตร แล้วก็ลึก เมตรกว่าเลยล่ะ แต่พอเมืองขยาย เค้าก็ขยายถนน แล้วก็เอาดินไปถมคูที่อยู่ข้างๆถนน แล้วเดินเป็นท่อระบายน้ำแทน ไอ้ท่อระบายน้ำที่เอาแทนเนี่ย มันเหลือความยาวเส้นผ่านศูนย์กลางแค่ 1 เมตรแค่นั้นเอง ทีนี้ พอฝนตกมาบนถนน น้ำที่เคยมีคูระบายน้ำขนาดใหญ่ไว้รอรับ มันก็ไม่มีที่ไป มันก็เลยอยู่บนถนน เพื่อ "รอการระบาย" นี่แหละ

นั่นแหละครับ ดร.บอกว่าไอ้ "น้ำรอการระบาย" เนี่ย มันเกิดจากท่อระบายน้ำมันเล็กเกินไป มันระบายไม่ทัน มันเลยรอการระบายก่อน ... สงสัยผู้ว่าฯคงได้ไปอ่านบทความที่ดร.เขียนเอาไว้ให้มั้งครับ ^^

จบก่อนนะ เดี๋ยวเขียนเรื่องเสาเข็มกับน้ำในกรุงเทพให้อ่านอีกทีนะครับ

Ps: เขียนแบบเร็วๆก่อนนะครับ เดี๋ยวหารูปมาใส่อีกที